วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ฐานข้อมูล ( Database) หมายถึงชุดของข้อมูลที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่อง
ราวเดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชุดข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลค้า และ ฐานข้อมูล
วิชาเรียน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ หรือบางข้อมูลอาจจะได้มา
จากการประมวลผลข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลกลับไปเก็บที่ตำแหน่งที่ต้องการ

ระบบฐานข้อมูล ( Database System) ความหมายของระบบฐานข้อมูลก็คือ ที่รวมของ
ฐานข้อมูลต่าง ๆ หรือที่รวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจจะได้จากการคำนวณ หรือประมวลผลต่าง ๆ
หรืออาจจจะได้จากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตมหาวิทยาลัย
ทักษิณ ก็จะรวมเอาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลวิชาเรียน ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลอาจารย์
์ ผู้สอน และ ฐานข้อมูลหลักสูตร เป็นต้น ซึ่งรวมกันเป็นระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนนิสิต หรือ
ฐานข้อมูลห้างร้านต่าง ๆ ก็จะประกอบด้วย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลระบบบัญชี
ฐานข้อมูลลูกหนี้ และฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น ดังภาพประกอบดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการแต่งภาพลวดลายตาราง Photoshop


ขั้นตอนการการสร้างลวดลายตารางรูป
การปรับ เสริม เพิ่ม แต่งภาพธรรมดาให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้นนั้น ในความเป็นจริงมีวิธีการที่หลากหลายมากมายมาก ในเวิร์คช็อปนี้ก็นำเอาตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆมาดัดแปลงให้ภาพกลายเป็นลวดลายตารางรูปด้วยวิธีง่ายๆโดยการใช้เครื่องมือในกลุ่ม Shape เป็นหลัก

ขั้นตอนที่ 1 เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 กดคีย์ D เพื่อตั้ง Foreground/Blackground เป็นสีดำ/ขาว
ขั้นตอนที่ 3 กดคีย์ Ctrl+A แล้วกดคีย์ Ctrl+Shift+J เพื่อแยกภาพออกจากเลเยอร์ Background ไปไว้อีกเลเยอร์ดังรูป


ขั้นตอนที่ 4 ก็อปปี้เลเยอร์รูป โดยกดคีย์ Ctrl+J จะได้ Layer 1 Copy
ขั้นตอนที่ 5 คลิกบนไอคอนรูปตา <Indicates Layer Visibility>หน้า Layer 1 Copy เพื่อซ่อนภาพในเลเยอร์นี้ไว้ก่อน

ขั้นตอนที่ 6 ปรับค่า Opacity ของเลเยอร์ Layer 1 เป็น 40%


ขั้นตอนที่ 7 คลิกเลือกเครื่องมือ Rounded Rectangle


ขั้นตอนที่ 8 กำหนดออปชั่นบาร์ดังรูป


ขั้นตอนที่ 9 คลิกเมาส์ 1 ครั้ง บนภาพจะมีรูปสี่เหลี่ยมสีดำแล้วจากนั้นให้ใช้เครื่องมือ Move โดยการกดปุ่มคีย์ V สำหรับย้ายรูปสี่เหลี่ยมสีดำให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ ทำแบบนี้ซ้ำๆจนได้รูปสี่เหลี่ยมที่พอใจ เมื่อเสร็จแล้วจะได้ดังรูป


ขั้นตอนที่ 10 คลิกเลือกเลเยอร์รูปทรงสี่เหลี่ยมทั้งหมด<โดยการกดคีย์ Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกเลเยอร์รูปทรงสี่เหลี่ยมทีละรูป เมื่อคลิกทุกเลเยอร์แล้วให้ลากมาทับปุ่ม Create a New Group>ดังรูป


ขั้นตอนที่ 11 เปิดใช้งานเส้นไกด์อัตโนมัติ โดยเลือกคำสั่ง View àShowàSmart Guides เพื่อจัดตำแหน่งอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่ 12 เลือกเลเยอร์รูปสี่เหลี่ยมทั้งหมด คลิกขวาที่เลเยอร์ใดเลเยอร์หนึ่ง แล้วเลือกคำสั่ง Merge Layers เพื่อรวมเลเยอร์

ขั้นตอนที่ 13 คลิกช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้าเลเยอร์ Layer 1 Copy เพื่อแสดงรูปในเลเยอร์อีกครั้งดังรูป


ขั้นตอนที่ 14 คลิกขวาที่เลเยอร์ Layer 1 Copy แล้วเลือกคำสั่ง Create Clipping Mask ดังรูป


ขั้นตอนที่ 15 จะได้รูปที่เป็นลวดลายตารางสวยงามครับ











ความหมายของสารสนเทศ


ความหมายของสารสนเทศ



สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิด

การเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ

มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้ง

ภายในหรือภายนอกองค์การ


ซีพียู (CPU)


ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของ
อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับ
คอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่า
ซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพ
กับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น


โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์


โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์



โครงสร้างหลักๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในส่วนของฮาร์ดแวร์ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ โดยที่หน่วยประมวลผลกลางและตัวควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อกันด้วยบัส (BUS) เพื่อให้เข้าถึงหน่วยความจำหลักที่จะใช้ร่วมกันได้ หน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการคือการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก เพื่อทำงานให้กับโปรเซสที่ร้องขอจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ในระบบ โดยการส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น ดักจับสัญญาณการขัดจังหวะ (สัญญาณอินเทอร์รัพต์) จัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและมีส่วนเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนอื่นๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้และไม่ผูกติดกับประเภทของอุปกรณ์ ซึ่งจำแนกโครงสร้างหลักของระบบคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้


2. หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้ต้องการเอาไว้ใช้ โดยแยกเป็นหน่วยความจำหลักซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ ROM และ RAM และหน่วยความจำสำรองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก ที่มีหน้าที่นำมาเก็บ ข้อมูลตามที่ต้องการ

3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง ที่รับมาจากส่วนของอุปกรณ์นำเข้ามาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การปฏิบัติตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เรียกว่า การเอ็กซีคิ้ว (execute) หรือการรันโปรแกรม


เลขฐาน


เลขฐาน 2,8,10,16

เลขฐานสอง คือ ระบบตัวเลขที่มีค่าฐานเป็นสอง มีสัญญลักษณ์ 2 ตัว คือ 0 กับ 1

มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 1 2 4 8 16 32 64 128 256......

เลขฐานแปด เป็นระบบตัวเลขที่มีค่าฐานเป็นแปด มีตัวเลขอยู่ 8 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7

มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 1,8,64,512.......

เลขฐานสิบ คือ ระบบเลขที่เราใช้กันมาเป็นประจำในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขโดดทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 - 9

เลขฐาน 16 มีตัวเลขอยู่ 16 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F


Pipeline

Pipeline คือ เทคนิคทำให้คำสั่งหลายๆ คำสั่งทำงานพร้อมๆ กัน แต่ละส่วนจะทำงานให้เสร็จในส่วนของมัน แต่ละส่วนจะทำงานต่างกัน แต่ละส่วนเรียกว่า "Pipe Stage" และแต่ละส่วนจะทำงานต่อเนื่องเป็นทอด ๆ เขาเลยเปรียบเทียบ pipeline กับสายพานเครื่องจักรไงครับ เวลาที่ใช้เคลื่อนที่จากส่วนหนึ่ง (Pipe Stage) ไปยังอีกส่วนหนึ่ง เราเรียกว่า "Machine Cycle" เนืองจากทุกๆ ส่วนทำงานพร้อมกันดังนั้น ค่า Machine Cycle จะดูจากเวลาที่ใช้ใน Pipe Stage ที่ช้าที่สุด

...เป้า หมายสูงสุดของ Pipeline ก็คือ ต้องการให้ความยาวของ Pipeline แต่ละขั้นตอนเกิดความสมดุล ถ้าขั้นตอนแต่ละขั้นตอนสมดุลกันแล้วเวลาที่ใช้ต่อ 1 คําสั่งใน Pipeline จะเท่ากับการใช้ Pipeline จะส่งผลทําให้เวลาการทํางานต่อคําสั่ง 1 คําสั่งลดลง

...ดังนั้น ถ้ามีจำนวน Pipeline เยอะๆ ก็จะช่วยให้การประมวลผลคำสั่งได้เร็วยิ่งขึ้นไงครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ Pipeline และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยครับ เพราะว่าคำอธิบายการทำงานมันก็เป็นแค่ทฤษฎีครับ

จริงๆ มันก็คือ การออกแบบขั้นตอนการประมวลต่อ 1 คำสั่งให้ใช้เวลาน้อยที่สุดอ่ะครับ จะได้ไม่เปลือง Clock และถ้ามีหลายๆ Pipeline มันก็จะช่วยประมวลผลพร้อมๆ กัน ทำให้เพิ่มความเร็วในการประมวลได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) ให้สูงเสมอไปไงครับ

pipeline จะแบ่งการทำงาน 1 งาน ออกเป็นงานย่อยแล้วทำพร้อมๆกัน เช่นการทำงานของ CPU แบ่งเป็นสมมติว่าแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน
1. อ่านคำสั่ง
2. แปลคำสั่ง
3. ประมวลผล
4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ
5. เขียนค่ากลับไปยังรีจิสเตอร์
พอ อ่านคำสั่งที่ไปแล้วก็จะเริ่มแปลคำสั่งในขณะที่แปลคำสั่งก็อ่านคำสั่งต่อไป เลย (เหมือนที่คุณ PSNR อธิบายแหละ) สมมติว่าแต่ละงานใช้เวลาอย่างละ 1 วินาที ถ้าทำทีละอย่าง 1 คำสั่งจะใช้เวลา 5 วินาที แต่พอใช้ pipeline จะทำให้โดยรวมแล้ว(ไม่นับ 4 วินาทีแรก) ทำได้ 1 คำสั่งใน 1 วินาที ทีนี้มันมีปัญหาตรงที่ว่าการทำงานแต่ละงานบางครั้ง(จริงๆแล้วส่วนใหญ่)มัน ไม่ได้ทำคำสั่งตามลำดับ 1 2 3 .. เช่นการเขียนโปรแกรมโดยใช้เงื่อนไข IF คือพอ pipeline ประมวลผลเสร็จสรุปได้ว่าต้องกระโดดไปทำงานที่คำสั่งอื่น